หน้าเว็บ

Monday, October 24, 2011

Guitar Fretboard Notes ส่องดูโน้ตบนคอกีตาร์

ก่อนหน้า นี้เราได้รู้จักวิธีการจับคอร์ด รูปฟอร์มต่างๆในเบื้องต้นไปแล้ว ซึ่งเพื่อนๆสามารถนำเทคนิควิธีการที่ได้นำเสนอไปประยุกต์ใช้กับคอร์ดอื่นๆ ฟอร์มอื่นๆ (ซึ่งมีมากมาย /-/ ไม่รู้จะอธิบายยังไง Potato เขาว่าอย่างนั้น อิๆ) ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่ที่การฝึกฝน พัฒนา ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า (ซ้ำไป ซ้ำมา ๆ /-/ เพลงยาพิษ ของ Bodyslam) จนเกิดเป็นความเคยชิน ซึ่งนักกีตาร์แต่ละท่านจะมีความถนัดต่างกัน เพื่อนๆ ถนัดเล่น ถนัดจับ ถนัดโซโล่ แบบไหน ก็ไม่ว่าักันนะครับ เอ้า...จัดเต็ม.

มาเริ่มส่องตัวโน้ตบนคอกีตาร์กันดีกว่า!


-click ที่รูปภาพเพื่อขยายภาพใหญ่ แล้ว save เก็บไว้ดูขนาดเต็มได้ 
สิ่งที่จะต้องทบทวนกันอีกรอบ ก่อนจะมาไล่เรียงโน้ตทั้งหมดบนเฟร็ทกีตาร์นั้น ก็คือ ชื่อโน้ตของสายกีตาร์ทั้ง 6 เส้น ที่เป็นสายเปิด จำให้ดี จำให้แม่น ท่องให้จำขึ้นใจ สำคัญ! แต่ถ้าหากเพื่อนๆลืม จำกันไม่ได้ หรือจำได้ไม่แม่น ให้กลับไปทบทวนหัวข้อนี้ก่อน อีกสักรอบหนึ่ง มาตั้งสายกีตาร์กันก่อน (Tuning up)

เมื่อเพื่อนๆ จำโน้ตบนสายเปิดกันได้แม่นยำแล้ว ต่อไปนี้เราจะมาดูเทคนิคการจำโน้ตทั้งหมดบนคอกีตาร์ ขั้นเทพ! ไม่ให้สับสน กัน (ให้ดูรูปประกอบ)
- สาย 1 กับ สาย 6 มีโน้ตเหมือนกันหมดตลอดทั้งคอกีตาร์ เพียงแต่เสียงสูง ต่ำต่างกันเท่านั้น
- โน้ต B ไม่มี B# เพราะอยู่ติดกันกับ โน้ต C ห่างกัน 1/2 เสียง
- โน้ต C ไม่มี Cb เพราะอยู่ติดกันกับ โน้ต B ห่างกัน 1/2 เสียง
- โน้ต E ไม่มี E# เพราะอยู่ติดกันกับ โน้ต F ห่างกัน 1/2 เสียง
- โน้ต F ไม่มี Fb เพราะอยู่ติดกันกับ โน้ต E ห่างกัน 1/2 เสียง
***อ่านแล้วไม่ต้องงง ถ้างงให้อ่านซ้ำนะจ๊ะ เดี๋ยวก็เข้าใจเอง*** 
สรุปสั้นๆ แต่ได้ใจความดังนี้
- B ติด b (แฟล็ท) ไม่ติด # (ชาร์ป)
- C ติด # (ชาร์ป)  ไม่ติด b (แฟล็ท)
- E ติด b (แฟล็ท) ไม่ติด # (ชาร์ป)
- F ติด # (ชาร์ป)  ไม่ติด b (แฟล็ท)  
*memo*
- b สัญลักษณ์นี้ อ่านว่า แฟล็ท หมายถึงว่า ถ้ามันอยู่ติดกับโน้ตตัวใด โน้ตตัวนั้นจะมีเสียงต่ำลง 1/2 เสียง เช่น Bb (บีแฟล็ท) คือโน้ต B ที่มีเสียงต่ำลงมาครึ่งหนึ่ง จากตำแหน่งเดิม
- # สัญลักษณ์นี้ อ่านว่า ชาร์ป หมายความว่า ถ้ามันอยู่ติดกับโน้ตตัวใด โน้ตตัวนั้นจะมีเสียงสูงขึ้น 1/2 เสียง เช่น C# (ซีชาร์ป) คือโน้ต C ที่มีเสียงสูงขึ้นไปอีกครึ่งหนึ่ง
จะท่องจำขึ้นใจก็ไม่ว่ากันนะครับ.
ต่ออีกนิดหนึ่ง มาดูเรื่องลำดับเสียงและระยะห่างของตัวโน้ตกัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เรื่อง Scale ต่อไป
ยกตัวอย่าง
* จาก C ไป D มีระยะห่างบนคอกีตาร์ 2 เฟร็ท เราเรียกว่า มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
*จาก E ไำป F มีระยะห่างบนคอกีตาร์ 1 เฟร็ท (คืออยู่ติดกัน อย่างกับปาท่องโก๋เลย) เราเรียกว่า มีระยะห่างกัน 1/2 (ครึ่ง) เสียง

แล้วจะทยอย update เรื่อยๆ มา เรียงๆ อย่างต่อเนื่องนะครับ ขอบคุณทุกคนที่ติดตาม ถ้าเพื่อนๆ ชอบก็อย่าลืม คอมเม้นท์ และ กด like (ด้านล่าง) นะครับ.


My Twitter

My Facebook

My Google+

My Videos
http://www.youtube.com/user/TheRockmankung/videos?view=0

Saturday, October 15, 2011

Ibasskung Solo เพลง อะไรก็ยอม ของวง Loso

สวัสดีครับ!เพื่อนๆ ต้องขออภัยนะครับ ที่ไม่ได้มาอัพเดทบล็อกหลายวันเลยทีเดียว (ข้ามเดือนแล้วจ้า) ช่วงนี้ก็กำลังเตรียมเนื้อหาดีๆ มาฝากเพื่อนๆ อีกเช่นเคย และก็หวังว่าเพื่อนๆ จะติดตามเป็นกำลังใจนะครับ (นึกแล้วปลื้ม ชื่นฉ่ำใจ อิๆ)
และแล้วก็เสร็จจนได้สำหรับคลิปที่ตั้งใจอัดมาให้เพื่อนๆได้ชมกัน นะครับ คลิปนี้ผมจะมาเล่นกีตาร์ Solo เพลง อะไรก็ยอม ของวง Loso (ตัดมาเฉพาะท่อน Solo) สำหรับเพลงนี้ผมใช้ โปรแกรม Sonar 8.5 Producer Edition เล่นกลอง และเบส เป็น Backing Track ให้ แล้วก็ Solo อัดสดแบบ Real-time ถ้าหากเพื่อนๆ คนไหน สนใจอยากจะใช้โปรแกรมนี้แต่งเพลงละก็ (อะแฮ่ม! ต้องติดตามชมคร้าบ).
***ท่อน Solo เพลงนี ประกอบด้วย คอร์ด A C#m Bm E (วน 2 รอบ) และนอกจากซาวด์โซโล่แล้ว เพื่อนๆ จะได้ยินเสียงของกีตาร์ Rhythm ซึ่งเล่น power chord แล้วปรับแต่งด้วย effect เสียงแตก ประเภท Distrotion (ถ้าโซโล่ด้วยกีตาร์ตัวเดียว นักกีตาร์ส่วนใหญ่เขาบอกว่าซาวด์มันไม่แน่น ต้องมีกีตาร์อีกตัวเข้ามาช่วย อย่างที่ผมอัดเป็น Backing track นั่นไง) ลองฟังแล้วสังเกตดูครับ จะเป็นการฝึกหูไปในตัวด้วย***



Monday, September 26, 2011

หัดจับคอร์ดแบบทาบ หรือ Bar Chord (ยากนิดหนึ่ง)

ไหนๆ ก็ไหนๆ หลังจากได้เรียนรู้การจับคอร์ดเปิด โอเพ่น ฟอร์ม กันไปเรียบร้อยแล้ว ที่นี้เราก็จะมาหัดจับคอร์ดที่ยากขึ้นกว่าเดิม (ถ้าจับได้ จะดูเท่ห์มาก) คอร์ดที่่ว่านี้ก็คือ "คอร์ดทาบ" หรือ "บาร์คอร์ด" (Bar Chord) นั่นเอง โดยเราจะให้นิ้วชี้ ทาบลงไปบนสายกี่ตาร์หลายๆเส้น พร้อมกัน จะทำให้เกิดรูปแบบ Close Form ขึ้น คือไม่มีสายเปิดว่างั้น
คอร์ดแรกที่จะแนะนำให้รู้จักคือคอร์ด F นะครับ...
จริงๆแล้ว ตั้งใจไว้ว่า จะสอนการจับ Bar Chord แบบฟอร์มเดียว เรียงคอร์ดกันไป แบบม้วนเดียวจบ แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่า "ตอนที่หัดเล่นกีตาร์ แบบจับคอร์ดใหม่ๆ ก็อยากรู้เหมือนกันว่า ที่เขาจับคอร์ดในนั้น เป็นอย่างไร จับตรงไหน อะไร ยังไง เครื่องหมายคำถามเยอะไปหมด ไม่รู้จะไปหาคำตอบที่ไหน"
ในหัวข้อนี้จึง ภูมิใจอยากจะนำเสนอ การจับบาร์คอร์ด ในหลายๆแบบฟอร์ม หลายโพสิชั่น คือเอาแบบเหมาหมดเข่งไปเลย (คิดว่าคงชอบ อิๆ) ทั้งนี้ นักกีตาร์มือใหม่จะได้นำไปปรับใช้ได้ ตามสะดวก (ทุกที่ทุกเวลา ที่อยากเล่น หรืออยากโชว์) กับคอร์ด F นั้นผมมีมาสอน มาให้ชมกัน 6 ฟอร์ม แบบจัดเต็ม (คิดว่าคงเพียงพอนะครับ ไล่ตั้งแต่เฟร็ทที่ 1 จนครบ อ๊อกเทฟ คือ เฟร็ทที่ 13) มาเริ่มกันเลย แบบ step by step นะครับ


  • การจับคอร์ด F รูปฟอร์ม ที่ 1


คอร์ด F ฟอร์มแรก มีวิธีการวางนิ้ว ดังนี้ครับ
- ใช้นิ้วชี้ ทาบ สาย 1 เฟร็ทที่ 1 (Note F) และสาย 2 เฟร็ทที่ 1 (Note C)พร้อมกัน
- ใช้นิ้วกลางกดสาย 3 เฟร็ทที่ 2 (โน้ต A)
- ใชนิ้วนางกดสาย 4 เฟร็ทที่ 3 (โน้ต F เป็นรู้ทโน้ต) ให้ดีดตั้งแต่สายนี้ลงมานะครับ และระวังอย่าดีดโดน                 สาย 5 กับ 6 โดนเมื่อไหร่ รกและเพี้ยน แน่ๆ อิๆ





คอร์ด F ฟอร์มที่ 2 มีวิธีการวางนิ้ว ดังนี้ครับ
- ใช้นิ้วชี้ ทาบสายทั้ง 6 สาย เฟร็ทที่ 1 พร้อมกัน 
- ใช้นิ้วกลางกดสาย 3 เฟร็ทที่ 2 (โน้ต A)
- ใช้นิ้วนางกดสาย 5 เฟร็ทที่ 3 โน้ต C 
- ใชนิ้วก้อยกดสาย 4 เฟร็ทที่ 3 (โน้ต F)
   รู้ทโน้ตของฟอร์มนี้อยู่ที่ สาย 6 เฟร็ทที่ 1 ซึ่งก็คือโน้ต F ที่มีเสียงต่ำที่สุดในคอกีตาร์ ให้ดีดตั้งแต่สายนี้ ลงมานะครับ






คอร์ด F ฟอร์มที่สาม มีวิธีการจับ ดังนี้ครับ
- ใช้นิ้วชี้ ทาบสายบริเวณเฟร็ทที่ 5 ตั้งแต่สายที่ 1 ถึงสายที่ 3 ตามภาพ พร้อมกัน
- ใช้นิ้วกลางกดสาย 2 เฟร็ทที่ 6 (โน้ต F)
- ใชนิ้วนางกดสาย 4 เฟร็ทที่ 7 (โน้ต A)
- ใช้นิ้วก้อยกดสาย 5 เฟร็ทที่ 8 โน้ต F เป็น Root Note ให้ดีดตั้งแต่สายนี้ลงมานะครับ และระวังอย่าดีดโดนสาย 6 ครับ






คอร์ด F ฟอร์มที่สี่ มีวิธีการวางนิ้ว แบบนี้ครับ
- ใช้นิ้วชี้ กดสาย 1 เฟร็ทที่ 8 (Note C)
- ใช้นิ้วกลางกดสาย 4 เฟร็ทที่ 10 (โน้ต C) อะแฮ่ม...ไม่ใช่ Root Note นะครับ แต่ให้ดีดตั้งแต่สายนี้ลงมา (ฟอร์มมันบังคับนิ๊ อิๆ)
- ใชนิ้วนางกดสาย 3 เฟร็ทที่ 10 (โน้ต F)
- ใช้นิ้วก้อยกดสาย 2 เฟร็ทที่ 10 (โน้ต A)
   และระวังอย่าดีดโดนสาย 5 กับ 6 เหมือนเช่นเคยจ้า






คอร์ด F ฟอร์มที่ห้านี้ มีวิธีการวางนิ้ว เหมือนฟอร์มที่สี่เกือบทุกประการ แต่ที่แตกต่างกันก็คือ เราจะใช้นิ้วชี้ ทาบสาย 1 ถึงสายที่ 5  เฟร็ทที่ 8 และใช้ปลายนิ้วชี้แตะสาย 6 ซึ่งเป็นสายเปิด เพื่อเป็นการอุดสายเอาไว้ไม่ให้ดังขึ้นมา เวลาเผลอไปดีดโดนเข้า จะทำให้รกและเพี้ยนมากมายเลยขอรับ. 
ง่ายไหมละครับฟอร์มนี้ เปลี่ยนจากกดสายมาเป็นทาบสาย?
บางคนบอกว่า แค่นี้ ชิว ชิว  ไอเบสคุง!






และแล้วก็แล้วกัน <เฮ้อ...> เดินทางมาถึงปลายทางสุดขอบฟ้า ปลายฝัน ฟอร์มสุดท้ายของคอร์ด F บาร์คอร์ด (ที่ภูมิใจอยากจะนำเสนอ) กันแล้ว แต่อย่าเพิ่งว่าอย่างงั้น อย่างงี้ นะครับท่านผู้ชม คืองี้ ถ้าใครจับคอร์ด F ฟอร์ม 1 กับ 2 ได้แล้วละก้อ บอกได้เลยว่า สบ๊าย สบาย... ง๊าย ง่าย... เพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับฟอร์มนี้ได้เลยทันที! อันนี้คอนเฟิร์ม ขออนุญาตนั่งยัน และยืนยัน โดยไม่ได้ปลุกปั่นกันให้ตกใจเล่น อิๆ
...เพราะเพียงแค่เราย้ายฟอร์มทั้งหมด โน้ตทั้งหมด จากเฟร็ทที่ 1 มาหยุด สต๊อปไว้บริเวณเฟร็ทที่ 13 (กรุณาดูภาพประกอบเปรียบเทียบ) ก็เป็นอันจบหลักสูตร ว่าด้วยเรื่องการจับ คอร์ด F ทั้ง 6 ฟอร์ม
ก็Ibasskung บอกแล้วไงว่า ง๊าย ง่าย แค่ปรับ position นิดๆหน่อยๆ เท่านั้นเอง.


หัวข้อที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน


::ขอบคุณครับ::

My Twitter

My Facebook

My Google+

My Videos

Sunday, September 25, 2011

การจับคอร์ด Minor (Open Form)

เมื่อเราจับคอร์ดเมเจอร์ได้แม่นยำพอสมควรแล้ว เราจะมาสลับ จับ คอร์ด ไมเนอร์ แบบ Open Form กันดูบ้าง เท่าที่ผมคิดได้ มันมี...Dm อ่านว่า ดีไมเนอร์, Em (อีไม่เนอร์), Am (เอไมเนอร์) ประมาณนี้นะ แต่จะแถมพวกตัว Minor 7th มาให้ด้วย เช่น Dm7 อ่านว่า (ดีไมเนอร์เซเว่น), Em7 และ Am7 มาให้ด้วย (ประเดี๋ยวจะน้อยใจ คริๆ)
ว่าแล้วก็จัดไป...



  • ภาพด้านบนที่เห็นเป็นการจับ คอร์ด Am (ยอดนิยมสำหรับมือใหม่) จับแบบนี้
    - นิ้วชี้ กดลงบนสาย 1 เฟร็ต(หรือช่อง) ที่ 1
    - นิ้วกลาง กดลงบนสาย 3 เฟร็ต ที่ 2

    - นิ้วนาง กดลงบนสาย 2 เฟร็ต ที่ 3
    Root Note ของ คอร์ด Am ก็เหมือนคอร์ด A เมเจอร์
    เราจะดีดตั้งแต่สายนี้ลงไป

    *****memo.*****
    ไม่ว่าจะคอร์ด A อะไร Root Note เหมือนกันหมด คอร์ดอื่นๆ ก็เหมือนกัน โดยสังเกตจากโน้ตตัวแรกที่เราดีด
    แต่ๆๆ...ยกเว้นพวก สแลช คอร์ด (slash chord)
    -คือคอร์ดที่มีการใส่ Bass Note เพิ่มไป- เช่น D/A เพิ่มเบสโน้ต A เข้าไปในคอร์ด D เราจะดีดตั้งแต่ A ลงไป แต่ D ยังเป็นรู้ตโน้ตคือเจ้าของคอร์ด, C/G เพิ่มเบสโน้ต G เข้าไปในคอร์ด C เราจะดีดตั้งแต่ G ลงไป  เป็นต้น.
  • คอร์ดอื่นๆ ก็จับตามคำอธิบายในภาพนะครับ คิดว่าคงจะจับคอร์ดกันเป็นแล้ว ในส่วนของ Open Form
  • ขอบคุณที่ติดตามนะครับ จะ Update เรื่อยๆ มา เรียงๆ ครับ.

การจับคอร์ด Dm ดีไมเนอร์


การจับคอร์ด Em อีไมเนอร์


การจับคอร์ด Dm7 ดีไมเนอร์เซเว่นท์


การจับคอร์ด Em7 อีไมเนอร์เซเว่นท์



การจับคอร์ด Am7 เอไมเนอร์เซเว่นท์ รูปฟอร์มที่ 1



การจับคอร์ด Am7 เอไมเนอร์เซเว่นท์ รูปฟอร์มที่ 2

::ขอบคุณครับ::


หัวข้อที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน



My Twitter

My Facebook

My Google+

My Videos
http://www.youtube.com/user/TheRockmankung/videos?view=0

เริ่มต้นการจับคอร์ด Major (Open Form)

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับโน้ตบนสายเปล่าในหัวข้อการตั้้งสายไปแล้วในบทนี้เราจะมาเริ่มจับคอร์ดกันเลย...ลุยย!!!
โดยส่วนมากคนหัดเล่นกีตาร์ใหม่ๆ จะไม่ทราบเลยว่า คอร์ดไหน จับอย่างไร ต่อให้ดูคอร์ดก็เถอะ มันก็ยัง...งงงง แต่เอาละ ด้วยความที่ Ibasskung เคยเริ่มต้นแบบงงงงมาก่อนแล้ว ก็เลยอยากจะนำเสนอวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ จากรูปแบบ Open Form กันก่อน หมายถึงไม่มีการทาบสาย และมีสายเปิดร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่างที่จะอธิบายต่อไปนี้ มีรูปภาพประกอบ สวยงาม ชวนให้น่าติดตาม เคลิบเคลิ้ม และหลงไหล (เอ...มันยังไงนี่)

การจับคอร์ดต่างๆ ในรูปแบบคอร์ด Major (Open Form)

  • ภาพด้านบนที่เห็นเป็นการจับ คอร์ด C (ยอดนิยม) จับแบบนี้
    - นิ้วชี้ กดลงบนสาย 2 เฟร็ต(หรือช่อง) ที่ 1
    - นิ้วกลาง กดลงบนสาย 4 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วนาง กดลงบนสาย 5 เฟร็ต ที่ 3 ตัวนี้คือ Root Note ของ
      คอร์ด C เราจะดีดตั้งแต่สายนี้ลงไปเด้อ.


 
  • การจับคอร์ด D จับแบบนี้
    - นิ้วชี้ กดลงบนสาย 3 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วกลาง กดลงบนสาย 1 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วนาง กดลงบนสาย 2 เฟร็ต ที่ 3
    - Root Note ของคอร์ด D คือสาย 4 เปิด ให้ดีดจากสาย 4 ลงไป    สาย 5 กับ 6 อย่าไปแตะเขา เสียงมันจะเพี้ยนๆ.


  • มาดูการจับคอรด์ E กันบ้าง
    - นิ้วชี้ กดลงบนสาย 3 เฟร็ต ที่ 1
    - นิ้วกลาง กดลงบนสาย 5 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วนาง กดลงบนสาย 4 เฟร็ต ที่ 2
    - Root Note ของ คอร์ด E คือสาย 6 เปิด ให้ดีดจากสาย 6 ลงไป   คอร์ดนี้ดีดได้หมดทุกสาย ไม่เพี้ยน เสียงจะแน่นดีด้วย.


 
  • ต่อไปการจับคอรด์ G
    - นิ้วชี้ กดลงบนสาย 5 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วกลาง กดลงบนสาย 6 เฟร็ต ที่ 3
    - นิ้วนาง กดลงบนสาย 1 เฟร็ต ที่ 3
      Root Note ของ คอร์ด G อยู่ที่สาย 6 เฟร็ตที่ 3 ให้ดีดจากสาย 6 ลงไป คอร์ดนี้ดีดได้หมดทุกสาย.


  • ตัวอย่างสุดท้าย มาดูการจับคอรด์ A กันบ้าง
    - นิ้วชี้ กดลงบนสาย 4 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วกลาง กดลงบนสาย 3 เฟร็ต ที่ 2
    - นิ้วนาง กดลงบนสาย 2 เฟร็ต ที่ 2
    - Root Note ของ คอร์ด A คือสาย 5 เปิด ให้ดีดจากสาย 5 ลงไป เว้นสาย 6.



เป็นอย่างไรกันบ้าง  สำหรับการจับคอร์ด เมเจอร์ หรือคอร์ดหลัก(พี่ใหญ่) คิดว่าคงไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่มีใจรักในการเล่นกีตาร์ นะครับ ขอให้ฝึกกันบ่อยๆ รับรองฉลุย!.

หัวข้อที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน


My Twitter

My Facebook

My Google+

My Videos
http://www.youtube.com/user/TheRockmankung/videos?view=0

Saturday, September 24, 2011

มาตั้งสายกีตาร์กันก่อน (Tuning up)

ในหัวข้อนี้เราจะมาเรียนรู้การตั้งสายกีตาร์กันครับ.
ราสามารถตั้งสายได้หลาหลายวิธีนะครับ ในแต่ละวิธีอาจแตกต่างกัน แต่ก็ให้เสียงที่เหมือนกัน (ถ้าหูแม่นพอนะ อิๆ) เช่น
  • ตั้งกับเครื่องตั้งสาย หรือ Multiple Effect ก็ได้ อันนี้สะดวกมาก ถ้าคุณเล่นเป็นวงกับเพื่อนๆ มันจะเป็นวิธีที่เพอร์เฟคมาก อันนี้เรคคอมเม้นท์แนะนำเลย แต่ต้องเสียตังค์ซื้ออุปกรณ์นะจ๊ะ
    วิธีการเรียนรู้ก็ไม่ยากด้วย ส่วนใหญ่แล้วทางร้านเขาจะสอนให้นะบัดนาว ที่เราจ่ายสตางค์นะคร้าบ (ฮา)
  • ตั้งกับเครื่องดนตรี อื่นๆ เช่น คีย์บอร์ด เปียโน อีเล็คโทน หรืออื่นๆ อันนี้เป็นการฝึกหูไปในตัว นักกีตาร์มือใหม่ควรฝึกเรื่องนี้ให้แม่นๆ นะจ๊ะ เวลาเข้าห้องซ้อมกับเพื่อนๆ จะได้จูนกันติด อิๆ ถ้าไม่ใช่ก็เล่นกันคนละคีย์ มั่วไปหมด เฮ้อ!!!
  • ตั้งกับ Sound สำเร็จรูป (ที่อัดเป็นไฟล์มาแล้ว เช่น .mp3, .wma, หรือ .wav) ก็หาโหลดได้ตามเว็บทั่วไป ถ้าหาไม่เจอ Ibasskung ก็จัดให้เลย
    อันนี้ก็ฝึกการใช้หูเช่นกัน
  • ตั้งกับเพลงที่เราฟังกันทั่วไป จะซีดี Compact Disc หรือ เอ็มพีสาม .mp3  ตามสะดวก (อันนี้ขั้นสูงนะจ๊ะ) โดยเลือกเพลงที่มีซาวน์กีตาร์ชัดๆ solo note เดี่ยวๆ จะตั้งได้ง่าย เช่น เพลงที่มีการเกาสาย เป็นอินโทร Intro ตอนเริ่มต้น

    ***แต่พึงระวัง*** บางเพลงมีการดร๊อปสาย drop ลดลงครึ่งเสียง หรืออาจมีการคาดเคโป้ ให้เสียงสูงขึ้น ตรงนี้จึงบอกว่าเหมาะกับผู้ที่ฝึกกีตาร์มาระดับหนึ่งแล้ว หรือจะเรียกว่า พวกเทพ ก็ไม่ปาน นะ.
*****
อ้อ...ไม่จำเป็นต้องมานั่งเที่ยบกันทุกเส้นนะครับ ตั้งให้ได้สายใดสายหนึ่งเป็นพอ จากนั้น เราจะใช้วิธีการตั้งแบบเที่ยบสายอื่นๆต่อไป โดยเราอาจจะตั้งเฉพาะสายหนึ่งก่อนก็ได้ อันนี้ก็ตามสะดวกครับ.


การตั้งสายแบบมาตรฐาน สแตนดาร์ด.  
คลิ๊กฟังเสียง เพื่อตั้งสาย >>> ตั้งสายมาตรฐาน 1Eสูง 2B 3G 4D 5A 6Eต่ำ

โดยปกติเสียงบนสายกีตาร์ สายเปิด หรือสายเปล่า (ไม่ต้องกดสายบนโน้ตใดๆ) จะเป็นดังนี้ครับ

สายแรก 1st string - เสียง E สูง เป็นสายที่เล็กที่สุดกว่าเพื่อน (the thinnest)
สายที่สอง 2nd string - เสียง B
สายที่สาม 3rd string - เสียง G
สายที่สี่ 4th string - เสียง D
สายที่ห้า 5th string - เสียง A
สายที่หก 6th string - เสียง E ต่ำ สายที่อยู่บนสุด ใหญ่สุด เป็นลูกพี่ก็ว่าได้ (the thickest)


การตั้งสายแบบ ลดลงจากมาตรฐาน ครึ่งเสียง.

สายที่หนึ่ง 1st string - เสียง Eb สูง (ตัวบีเล็ก อ่านว่า แฟล็ท)
สายที่สอง 2nd string - เสียง Bb
สายที่สาม 3rd string - เสียง Gb
สายที่สี่ 4th string - เสียง Db
สายที่ห้า 5th string - เสียง Ab
สายที่หก 6th string - เสียง Eb ต่ำ


ให้สังเกตว่าทั้งสองวิธีนั้น สาย 1 กับ สาย 6 จะมีเสียงที่เหมือนกัน คือเสียงอี และ อีแฟล็ท เพียงแต่สูง-ต่ำอยู่กันคนละอ็อคเตฟ Octave เท่านั้นเอง

Introduction กันก่อน

สวัสดีครับ ผู้ที่สนใจ ใฝ่รู้การเล่นกีตาร์ ทุกท่านนะครับ
My name is Ibasskung

จุดประสงค์ที่ผมสร้างบล็อคนี้ขึ้นมาเพื่อสอน หรือแนะนำ การเล่นกีตาร์พื้นฐาน ในสไตล์ส่วนตัวของผมนะครับ หมายถึง อธิบายกันตามเนื้อผ้าอะไรประมาณนั้น โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้ง กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) และกีต้าโปร่ง (Acoustic Guitar) นะครับตัวอย่างเช่น
  • การตั้งสายกีตาร์ ทั้ง แบบมาตรฐาน และลดลงครึ่งเสียง แบบ b (how to tune the guitar before playing)
  • การเรียนรู้โน๊ตต่างๆ บนสายเปิด (Open String) ทั้ง 6 สาย
  • การตีคอร์ดธรรมดา Strumming การตีคอร์ดแบบพาวเวอร์ (Power Chord) และการเกากีตาร์ Picking Arpeggios
  • การไล่สเกลต่างๆ ทั้ง Major Minor รวมทั้งโหมดอื่นๆ เช่น Ionian (สเกลโด เร มี นั่นละ) Lydian เป็นต้น
  • เรียนรู้เทคนิคการเล่นกีตาร์ต่างๆ เช่น Alternate Pick การ Muted สาย การดัน Bending การเล่น Hammer On, Pull Off, Legato, Trill (อันหลังนี่ผมชอบ รัวแบบไม่มียั้ง อิๆ)เป็นต้น
  • การแกะเพลง หรือเล่นตามเพลงที่เราชื่นชอบ บางคนอาจจะนำไป Cover เพลงก็ไม่ว่ากัน
เป็นต้น.


นอกจากนี้แล้ว ยังมีสอน การแต่งเพลงกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เืพื่อทำเดโมเพลง (ที่บ้านเรานิยมใช้กัน ก็มีไม่กี่เจ้า) อย่างเช่น โลจิก, โซนาร์ (ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า)
แล้วทำอะไรได้บ้างล่ะ...
  • ปรับ Tempo เพลง (ความเร็วของเพลง ช้า ปานกลาง หรือเร็ว ตามชอบ)
  • โปรแกรมใช้เป็น Metromome หรือเสียงติ๊กต็อก สำหรับคนที่อยากได้จังหวะที่แน่นอน เป็นเหมือน Rhythm สำหรับฝึกกีตาร์ หรือเครื่องดนตรีือื่นๆได้
  • เป็น Effect Modulation ได้ คือสามารถใช้ปรับแต่งเสียงกีตาร์ให้เป็นเสียง Clean หรือ Drive ก็ได้ มีการจำลองตู้แอมป์ให้ด้วย ลองแล้วเีสียงดี ใช้ได้ (แต่เสียงจี่ หรือ เสียงรบกวน ประเภท Noise ดังมากไปหน่อย ปรับลด Gain เอาละกัน) 
  • การเขียน Midi Pattern ไลน์กลอง ไลน์เบส ไลน์กีตาร์ ใส่เอฟเฟ็คต่างๆ โดยใช้ Plug-in ภายนอก เข้ามาเสริมทัพอีกทีหนึ่ง ลองใช้แล้วให้เสียงออกมาได้งดงามมากเลย อันนี้ก็ Recommend
  • มีโปรแกรม Plug-In หลายๆตัวที่สามารถเล่นคอร์ดเพลง (ใน Style ที่หลากหลาย) ให้เราได้เลยโดยไม่ต้องเขียนโครงสร้างคอร์ด เช่น 1 - 3 - 5 เีพียงเราเขียน Midi บนโน้ตที่ต้องการตัวเดียวก็เล่นเป็นคอร์ดได้เลย แหม! เยี่ยมจริงๆ เีสียงดี มีมิติ ขั้นเทพ! ลองแล้วจะติดใจ อันนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากมีใครสักคนตีคอร์ดให้ และเล่นได้แม่นยำด้วย หรือคนที่เล่นกีตาร์ไม่เป็น หรือเป็นแต่ยังไม่คล่องเท่าไหร่ แนะนำเลยครับ
  • อ้อ...นอกจากตีคอร์ดให้เราได้แล้ว ยังเล่น Power Chord เป็น Rhythm เสียงแตกได้ด้วยนะจ๊ะ
  • การอัดสด Audio แบบ real-time เช่น ไลน์เสียงร้อง ไลน์กีตาร์ ไลน์เบส ไลน์กลอง หรืออื่นๆ เสร็จสรรพปรับแต่ง ตัดต่อ หรืออัด Compressor ก็ไม่ว่ากัน จากนั้น Mix หรือ บาวซ์ ออกมา แล้วใช้ โปรแกรมประเภท Wave Editor หรือ Mastering ต่างๆ ทำให้ระดับเสียงใกล้เคียงกัน
เป็นอาทิ.
Written by Ibasskung.
24 กันยายน 2554
17.25 น.(ตามเวลาท้องถิ่น อิๆ)